แนวทางการปฏิบัติงานเภสัชกรรม

ปีงบประมาณ 2568 | กลุ่มงานเภสัชกรรม

สารบัญ

การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

กลุ่มงานเภสัชกรรม ครั้งที่ 1-31 ตุลาคม 2568

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ เภสัชกรและเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องสวมเสื้อกาวน์
  2. การจัดตารางเวรประจำเดือนให้แจกตารางเวรไม่เกินวันที่ 20 ของทุกเดือน
  3. สามารถปฏิบัติงานต่อเนื่องกันได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง (นับรวมการปฏิบัติงานในเวลาราชการ)

ตารางเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

กรณี เวลาปฏิบัติงาน หมายเหตุ
เวรปกติ ตามตารางเวรที่กำหนด ต้องเซ็นชื่อรับทราบตารางเวร
เวรดีกวันราชการ 08.00 น. และกลับมาปฏิบัติงานเวลา 09.30 น. มาปฏิบัติงานหลังเวลา 9.30 น. ถือว่ามาสาย
เวรดีกต่อเข้ารันหยุดราชการ ปฏิบัติงานต่อที่เวลา 8.15 น. มีเวลาพัก 15 นาที
วันหยุดราชการเวรเช้า มาปฏิบัติงานหลังเวลา 08.15 น. ถือว่าปฏิบัติงานสาย กรณีมาสายต้องเขียนบันทึกข้อความรายงานเหตุผล

หมายเหตุ:

กรณีแลกเปลี่ยนเวรหลังตารางเวร update ให้เขียนเป็นหลักฐานในตารางกลางที่ห้อง IPD1

ข้อควรระวัง:

  • กรณีเจ้าหน้าที่มาสายครั้งที่ 3 ขึ้นไปในรอบ 1 เดือน ให้เขียนรายงานและพบผู้บริหารในระดับสูงต่อไป
  • เจ้าหน้าที่ที่ขาดการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามตารางเวรที่ปรับปรุง ต้องเขียนบันทึกข้อความรายงานหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม

ข้อยกเว้นการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

การปฏิบัติงานในเวลาราชการ

กลุ่มงานเภสัชกรรม ปีงบประมาณ 2568

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. การปฏิบัติงานในเวลาราชการ เภสัชกรและเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องสวมเสื้อกาวน์ (เจ้าหน้าที่คลังเวชภัณฑ์ ไม่สวมเสื้อกาวน์ได้)
  2. เวลาปฏิบัติงาน 8.00-16.00 น. เข้าปฏิบัติงานไม่เกิน 8.15 น.

การมาสายและการชดเชยเวลาปฏิบัติงาน

กรณีมาสาย การชดเชย กระบวนการรายงาน
8.16-8.30 น. (มากกว่า 15% ต่อเดือน) ชดเชยเวลาปฏิบัติงาน 1 ครั้ง ทำบันทึกข้อความตามแบบฟอร์มชดเชยเวร
8.16-8.30 น. (16-20% ต่อเดือน) ชดเชยเวลาปฏิบัติงาน 2 ครั้ง ทำบันทึกข้อความตามแบบฟอร์มชดเชยเวร
8.16-8.30 น. (มากกว่า 21% ต่อเดือน) ชดเชยเวลาปฏิบัติงาน 3 ครั้ง และทำบันทึกถึงหัวหน้ากลุ่มงาน ทำบันทึกข้อความถึงหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม
8.31 น. เป็นต้นไป ชดเชยเวลาปฏิบัติงาน 1 ครั้ง ภายในวันนั้น ทำบันทึกข้อความตามแบบฟอร์มชดเชยเวร

การชดเชยเวลาปฏิบัติงาน:

คือ การปฏิบัติหน้าที่เวลา 16.00-16.30 ณ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน1 (หลัก) โดยให้หัวหน้าเวรเป็นผู้บริหารจัดการการปฏิบัติงานตามความเหมาะสม

เกณฑ์การไปช่วยชดเชยที่ OPD: มีผู้ป่วยค้างรอจัดจ่ายมากกว่า 20 คนขึ้นไป

หลักเกณฑ์การลาของข้าราชการและพนักงานราชการ

ตารางสิทธิการลาประเภทต่างๆ

ประเภทการลา ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว
ลาป่วย ไม่เกิน 60 วันทำการ/ปี เท่าที่ป่วยจริง ไม่เกิน 30 วัน/ปี 15 วันทำการ/ปี
ลาคลอดบุตร 90 วัน + ลาเลี้ยงดูบุตร 150 วัน 90 วัน (ได้รับค่าตอบแทน 45 วันจากราชการ + 45 วันจากประกันสังคม) 90 วัน (ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน)
ลากิจส่วนตัว ไม่เกิน 45 วัน/ปี ไม่เกิน 10 วัน/ปี ตามดุลยพินิจของหัวหน้า
ลาพักผ่อน 10 วัน/ปี (สะสมได้ตามเงื่อนไข) 10 วัน/ปี (สะสมได้ไม่เกิน 5 วัน) 10 วัน/ปี (ไม่สะสม)

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการลา:

  • การลาครึ่งวันเข้า หรือครึ่งวันบ่าย ให้นับเป็นการลาครึ่งวันตามประเภทนั้นๆ
  • การลาป่วยควรมีใบรับรองแพทย์
  • ลาพักผ่อนต้องลาล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการ

เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน:

  1. ต้องไม่ลาป่วย/ลากิจเกินกว่า 10 ครั้ง และ/หรือต้องไม่เกิน 23 วันทำการ
  2. ไม่มาสายเกิน 20 ครั้ง
  3. ขาดราชการเกิน 8 วัน/รอบ

หมายเหตุ: เกณฑ์ข้างต้นไม่รวมวันลาตามสิทธิ์เฉพาะ เช่น ลาคลอดบุตร, ลาอุปสมบท, ลาป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น

รายนามผู้ทบทวน

แนวทางการปฏิบัติงาน ในและนอกเวลาราชการ กลุ่มงานเภสัชกรรม ปีงบประมาณ 2568

ลำดับ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง
1 นางสาวดวงรัตน์ อุ่นจรัส หัวหน้างานเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
2 นายตนุภัทร จำนงค์ศรี หัวหน้างานพัฒนาระบบยาและวิจัยพัฒนา
3 นางสาวพึงพิศ บรรณสาร หัวหน้างานเภสัชกรรมการผลิต
4 นางสาวอลินนันทน์ สุดแสนทวีโชติ หัวหน้างานบริบาลเภสัชกรรม
5 นายเกรียงไกร สือนาวาณิชย์ หัวหน้างานเภสัชกรรมปฐมภูมิ
6 นางสาวยุภาวดี พิมพ์มัย หัวหน้างานจัดซื้อเวชภัณฑ์
7 นางอนงค์นาฏ ศิริโสม หัวหน้างานคลังเวชภัณฑ์
8 นางจารุณี สวัสดิพละ หัวหน้างานเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
9 นายสุบรรณ มณฑนะพิศุทธิ์ ผู้ช่วยหัวหน้างานเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
10 นางสาวจิตราภรณ์ มณีเรือง ผู้ช่วยหัวหน้างานพัฒนาระบบยาและวิจัยพัฒนา

( นายสวัสดิ์ มาสา )

หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม

29 ตุลาคม 2567