แนวทางการเก็บยาสำรองในหอผู้ป่วยและหน่วยบริการ
ระบบยาสำรอง ในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จัดแบ่งตามระดับความจำเป็นในการใช้ ได้แก่:
- Emergency drug คือ ยาฉุกเฉิน ยาช่วยชีวิต รูปแบบที่จัดเตรียมไว้พร้อมใช้สำหรับหน่วยงาน คือ กล่อง Emergency Box หรือ CPR Box ซื้อเป็นรายการยาที่หน่วย CPR กลางของโรงพยาบาลเป็นผู้กำหนดรายการยา
- Urgency drug คือ ยาที่มีไว้สำหรับบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์อย่างเร่งด่วน ในแต่ละหอผู้ป่วยจะมีความแตกต่างของรายการยาได้
วัตถุประสงค์ของการสำรองยาไว้บนหอผู้ป่วย เพื่อให้มีมาตรฐานของการพร้อมใช้อย่างรวดเร็ว และคงไว้ซึ่งคุณภาพของยาที่ถูกจัดเก็บ เมื่อมีการใช้แล้วต้องมีระบบที่รองรับในการเบิกทดแทนทันที
1. ระบบยาสำรอง
ทุกหน่วยมีการแยกการจัดเก็บแยกเป็นสัดส่วน มีป้ายยาที่ชัดเจน มีการจัดเรียงตามระบบ FEFO
- 1.1 หอผู้ป่วยทั่วไป กำหนดการตรวจสอบ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ การเบิกทดแทนเมื่อมีการใช้ ให้นำสำเนาใบสั่งยานั้นๆ ที่มีการใช้ยามาเบิกทดแทนทันที
- 1.2 หน่วยวิสัญญี กำหนดการตรวจสอบ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ การเบิกทดแทนเมื่อมีการใช้ หน่วยวิสัญญีรวบรวมสำเนาใบสั่งยา มาห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน วันละ 2 ครั้ง เวลา 9.00 น. และ 15.00 น. แล้วห้องยารวบรวมการจ่ายแยกชั้น 2 และชั้น 3 ตามเวลาที่กำหนด
- 1.3 หน่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน กำหนดการตรวจสอบ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การเบิกทดแทนเมื่อมีการใช้ กรณีกล่องยา CPR box หรือ RSI box เมื่อเปิดใช้ ให้นำมาแลกเปลี่ยนทันทีพร้อมใบสั่งยา
2. Multiple drug
มีการเก็บในสถานที่ที่เหมาะสม เช่น ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศา มีการจัดวางแยกเป็นสัดส่วน ระบุวันที่เปิดและวันหมดอายุ การเบิกทดแทนโดยนำทะเบียนมาเบิก ตรวจสอบข้อมูลการบันทึกการใช้ในทะเบียน และลงวันที่จ่าย จำนวนจ่าย ผู้จ่าย ในทะเบียน
3. การสำรองยาเสพติด
มีการเก็บโดยใช้หลักการ "ป้องกันการเข้าถึงโดยผู้ไม่มีอำนาจ" เก็บไว้ในบริเวณที่เก็บมิดชิด มีกุญแจล็อคได้ ไม่มีเอกสารอื่นปะปน มีการระบุวันที่เปิดและวันหมดอายุ (กรณี morphine injection) เมื่อมีการใช้ยา ให้บันทึกการใช้ยาในทะเบียนยาเสพติด และเบิกทดแทนได้ทุกวัน โดยนำเอกสารประกอบการเบิกดังนี้:
- ซากยาเสพติด
- ยส.5
- ใบสั่งใช้ยาฉบับจริง
- ทะเบียนการใช้ยาเสพติด
ภายหลังจากการใช้ยา มีการทวนสอบการใช้ยาบนหอผู้ป่วยโดยเภสัชกรประจำหอผู้ป่วยนั้น ๆ
4. ระบบการหมุนเวียนยาสำรอง
- กรณียาใกล้หมดอายุน้อยกว่า 8 เดือน ให้นำมาหมุนเวียนใช้ในห้องยา