มิติด้านการบริหารระบบยา
1. การจัดการระบบด้านยา
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีการกำหนดนโยบาย จัดสรรงบประมาณและทรัพยากร และติดตามสนับสนุนการพัฒนาระบบการคัดยาที่ปลอดภัย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะเข้าถึงยาที่มีคุณภาพสูง และได้รับบริการด้านยาที่เป็นมาตรฐาน และมีความปลอดภัยด้านยา โดยมีการดำเนินการร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพ
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาการจัดการระบบด้านยา |
- |
1 |
- ดำเนินการจัดการระบบความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาล เช่น จัดทำนโยบาย กำหนดโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง
- จัดตั้งคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) ของโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยสหสาขาวิชาชีพ
|
- |
2 |
- PTC มีการประชุมสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และมีช่องทางการสื่อสารนโยบายลงสู่ผู้ปฏิบัติ
- มีนโยบายในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยด้านยาของโรงพยาบาลที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- มีแผนการดำเนินงานที่ตอบสนองนโยบายด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านยาของโรงพยาบาล และกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดระบบยาที่ครอบคลุมเป้าหมายคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย
- มีระบบคุณภาพและความปลอดภัยด้านยาที่สอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาลข้างต้น เช่น ระบบเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ระบบป้องกันการแพ้ยาตั้ง ระบบป้องกันเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จากยา ระบบตรวจสอบการแพ้ยา/อันตรกริยาของยา ระบบการรายงานอุบัติการณ์และเหตุการณ์เกือบพลาด เป็นต้น
|
- |
3 |
- จัดทำคู่มือ/แนวทางปฏิบัติความปลอดภัยด้านยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับระบบในข้อ 2 และถ่ายทอดเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้ตรงกันกับเภสัชกรและสหวิชาชีพ
- ติดตาม ดำเนินการ รวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดที่กำหนดไว้จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลตัวชี้วัดสำคัญ เช่น ME/ADE คุณภาพยา การใช้ยาสมเหตุผล ฯลฯ ประกอบการพิจารณายาเข้าออกโรงพยาบาล และปรับปรุงนโยบาย/แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
- มีแผนการจัดการด้านยาในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
|
- |
4 |
- มีรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยด้านยา และผลการดำเนินการของระบบคุณภาพและความปลอดภัยด้านยาอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยทุกสามเดือน)
- มีการพัฒนาระบบคุณภาพเพื่อความปลอดภัยด้านยาของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลจากรายงานการดำเนินการข้างต้น และหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเหมาะสม
- สามารถชี้นำ ประสานสหสาขาวิชาชีพ ให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบยาไปสู่เป้าหมายที่กำหนดได้
- ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร และกำลังคน เพื่อการพัฒนาระบบคุณภาพและความปลอดภัยด้านยาอย่างต่อเนื่อง
- มีระบบการจัดการด้านยาในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้รับการทดสอบ และพร้อมใช้งาน
|
- |
5 |
- มีการขยายระบบการจัดการด้านยาไปสู่โรงพยาบาลในเครือข่าย
- มีการประเมินบทบาทหน้าที่ของ PTC และกรรมการที่เกี่ยวข้อง ในด้านชี้นำ สนับสนุน และติดตาม อย่างสม่ำเสมอ
- มีนวัตกรรมทางการบริหารจัดการที่เกิดจากการเรียนรู้ปัญหา นำมาสู่การพัฒนาระบบยาเพื่อความปลอดภัย ที่เป็นต้นแบบได้
- เกิดวัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัยด้านยา (การรายงานเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง การเรียนรู้จากความผิดพลาดที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบบที่ดีขึ้น ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน) ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าโรงพยาบาลเป็นองค์กรที่มุ่งพัฒนาให้เกิดความปลอดภัยด้านยากับผู้ป่วย
- ไม่เกิดปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยาที่ป้องกันได้ และไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
- มีการประเมิน Cost effectiveness / Hospitalize rate เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย
|
- |
2. โครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีการจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างทางกายภาพ สภาพแวดล้อมในการทำงานและเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อเอื้อต่อการสร้างระบบคุณภาพเพื่อความปลอดภัยด้านยาของโรงพยาบาล
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม |
- |
1 |
- เริ่มมีการวางแผน ออกแบบการจัดการโครงสร้างกายภาพเพื่อเอื้อต่อความปลอดภัยของบุคลากร และป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา
|
- |
2 |
- พื้นที่ห้องจ่ายยา คลังยา ผลิตยา มีความสะอาด เป็นระเบียบ มีแสงสว่าง ระบบระบายอากาศที่เหมาะสม ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยของผู้ให้บริการ และคลาดเคลื่อนทางยาได้
- จัดพื้นที่ให้คำปรึกษาด้านยา แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ และแยกพื้นที่สำหรับกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (หากมีการบริการ)
- มีอุปกรณ์ที่เพียงพอสำหรับมาตรฐานการให้บริการด้านยาเบื้องต้น ที่สอดคล้องกับศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาล
- มีระบบการจัดการห่วงโซ่ความเย็นที่เหมาะสมสำหรับวัคซีน และยาที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ มีอุปกรณ์สำหรับระบบห่วงโซ่ความเย็นที่พร้อมใช้
- กรณีการเตรียมยาเคมีบำบัด มีระบบจัดการตามมาตรฐาน (สถานที่ผลิต-อุปกรณ์ การเก็บ เคลื่อนย้าย จัดส่ง กำจัด และทำความสะอาด)
|
- |
3 |
- มีระบบตรวจสอบเพื่อประเมินความพร้อมของพื้นที่ และอุปกรณ์การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยและป้องกันความคลาดเคลื่อนด้านยา เช่น การควบคุมอุณหภูมิ แสง ความชื้น เป็นต้น
- มีระบบบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยา และข้อจำกัดทางโครงสร้างกายภาพที่ส่งผลต่อความปลอดภัยด้านยาของผู้ป่วย
|
- |
4 |
- นำข้อมูลการตรวจสอบ และรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา มาใช้เพื่อพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพให้เกิดความปลอดภัยและป้องกันความคลาดเลื่อนด้านยา อย่างสม่ำเสมอ
- จัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการมีโครงสร้างทางกายภาพที่เหมาะสมต่อการป้องกันอันตราย และลดความคลาดเคลื่อนด้านยา
- มีแผนการซ่อมการเคลื่อนย้ายในห้องยา กรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
|
- |
5 |
- มีนวัตกรรมที่เกิดจากการพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยด้านยาของโรงพยาบาล
- ไม่พบรายงานความเสี่ยงทางยา ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เกิดความพิการ หรือต้องได้รับการช่วยชีวิตที่มีสาเหตุจากโครงสร้างทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
|
- |
3. ระบบข้อมูลที่เชื่อมโยง
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีการจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาระบบยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยมีการจัดการข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยา การปฏิบัติงาน และการใช้ยาของผู้ป่วย นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้ไปสู่การตัดสินใจอย่างเหมาะสม ได้อย่างรวดเร็ว และพัฒนาระบบยาอย่างต่อเนื่อง
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลที่เชื่อมโยง |
- |
1 |
- เริ่มมีการวางแผน จัดเตรียมทรัพยากรเบื้องต้นสำหรับการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านยา
|
- |
2 |
- มีระบบการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการบริหารจัดการด้านยาเพื่อความปลอดภัย ทั้งการคัดเลือก กำกับดูแลการใช้ยา การจัดหา การเก็บรักษา การกระจาย และการสั่งใช้ยาเพื่อความปลอดภัย
- มีแหล่งข้อมูลที่ทันสมัย และเข้าถึงได้เพื่อใช้อ้างอิงในการตัดสินใจด้านยา สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และการให้คำปรึกษาสำหรับประชาชน
- มีระบบจัดการข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใช้เพื่อการปฏิบัติงานของระบบคลังยา การวินิจฉัย และการติดตามผลการใช้ยาของผู้ป่วย
|
- |
3 |
- มีระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลคลังยา ข้อมูลของผู้ป่วย การวินิจฉัย การสั่งใช้ และการติดตามผลการใช้ยา
- กำหนดโจทย์ปัญหา และข้อมูลที่ต้องการที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบบคุณภาพเพื่อความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบ
|
- |
4 |
- ใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้จากระบบข้องมูลของโรงพยาบาล ร่วมกับข้อมูลรายงานความคลาดเคลื่อนด้านยา และข้อร้องเรียน เพื่อการติดตาม ประเมินผล และพัฒนาระบบคุณภาพและความปลอดภัยด้านยาอย่างต่อเนื่อง
- ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร หรือกำลังคนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
|
- |
5 |
- เกิดวัฒนธรรมองค์กรด้านการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ โดยแนวปฏิบัติขององค์กรที่ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจไม่ได้ใช้ความเห็น
- มีระบบข้อมูลที่ให้ข้อมูลได้ทันท่วงที เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ไม่คาดคิด
|
- |
4. การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร
เป้าหมาย: ระบบการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านยา มีความสอดคล้องกับการจัดบริการด้านสุขภาพและด้านยาของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะของกำลังคนด้านยา เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านยาเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยด้านยาแก่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกำลังคนด้านยา |
- |
1 |
- เริ่มมีการวางแผน จัดเตรียมทรัพยากรเบื้องต้นสำหรับการพัฒนากำลังคนด้านยา
|
- |
2 |
- มีการบันทึกข้อมูลกำลังคนบนฐานข้อมูล HRopin ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อจัดทำข้อมูลด้านกำลังคนของบุคลากรในกลุ่มงานเภสัชกรรม (เช่น คุณวุฒิ แผนการศึกษา หน้าที่รับผิดชอบหลัก ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา การฝึกอบรมเพิ่มเติม เป็นต้น)
- มีแผนการบริหารจัดการกำลังคนในกลุ่มงานเภสัชกรรม เพื่อให้บริการด้านยาของโรงพยาบาลตามระดับศักยภาพ และ Service plan รวมถึงนโยบายของประเทศด้านยาและสุขภาพ
- มีแผนการพัฒนาบุคลากรในกลุ่มงานเภสัชกรรม ซึ่งเป็นเส้นทางความก้าวหน้าและความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของแต่ละบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการกำลังคนของกลุ่มงานเภสัชกรรม และของโรงพยาบาล
|
- |
3 |
- มีระบบเพื่อประเมินสถานการณ์กำลังคนในกลุ่มงาน (บุคคลากรเพียงพอต่อการทำงาน มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานและมีความสุขในการทำงาน) อย่างสม่ำเสมอ
- บุคลากรของกลุ่มงานได้รับการสนับสนุนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนากำลังคนของกลุ่มงาน* อย่างน้อยตนละ 1 ครั้งต่อปี
- เภสัชกรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ปฏิบัติงานตรงตามคุณวุฒิความเชี่ยวชาญ ตามแผนการพัฒนากำลังคนของกลุ่มงาน*
- มีแผนการพัฒนาหัวหน้างานด้านการพัฒนาศักยภาพการบริหารบุคคล และ/หรือองค์กร
|
- |
4 |
- เภสัชกรมีการศึกษาต่อเนื่องในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่สภาเภสัชกรรมรับรอง หรือปริญญาโท/เอก (ในสาขาที่เกี่ยวข้อง) หรือได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรจากสภาเภสัชกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเภสัชกรที่อยู่ปฏิบัติราชการ
- เภสัชกรไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ปฏิบัติงานตรงตามคุณวุฒิความเชี่ยวชาญ ตามแผนการพัฒนากำลังคนของกลุ่มงาน*
- มีการนำข้อมูลจากการประเมินสถานการณ์กำลังคนในกลุ่มงาน (ในระดับ 3) เพื่อใช้พัฒนากำลังคนของกลุ่มงาน เพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อการบริการของโรงพยาบาล และสนับสนุนความปลอดภัยด้านยาของผู้ป่วย
- มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี การออกแบบระบบงาน หรือการจัดการกำลังคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดภาระงานของเภสัชกรในการปฏิบัติงานพื้นฐาน และเพิ่มบทบาทของเภสัชกรในการพัฒนาคุณภาพระบบยา และให้การบริบาลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้านยา
- มีสัดส่วนของหัวหน้างานที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการบริหารบุคคล และ/หรือ องค์กร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
|
- |
5 |
- เภสัชกรมีการศึกษาต่อเนื่องในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่สภาเภสัชกรรมรับรอง หรือปริญญาโท/เอก (ในสาขาที่เกี่ยวข้อง) หรือได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรจากสภาเภสัชกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเภสัชกรที่อยู่ปฏิบัติราชการ
- เภสัชกรทุกคนปฏิบัติงานตรงตามคุณวุฒิความเชี่ยวชาญ ตามแผนการบริหารจัดการกำลังคนของกลุ่มงาน*
- หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม และหัวหน้างานทุกคนผ่านการฝึกอบรมด้านการบริหารบุคคล และ/หรือ องค์กร
- เกิดวัฒนธรรมองค์กรด้านการทำงานร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อพัฒนาระบบยา คุณภาพเพื่อความปลอดภัยด้านยาแก่ผู้ป่วย
|
- |
มิติด้านการบริการและบริบาลทางเภสัชกรรม
5. การบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก
เป้าหมาย: โรงพยาบาลได้จัดการบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สมเหตุผล และเป็นไปตามแผนการรักษา และสามารถป้องกันความเสี่ยงทางยาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาการบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก |
- |
1 |
- เภสัชกรได้เห็นใบสั่งยาหรือเข้าถึงคำสั่งแพทย์โดยตรง เช่น ผ่านระบบ CPOE
- มีการทบทวนใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยาตามแนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาล ในขั้นตอนการตรวจสอบและจ่ายยา
- ฉลากยามีข้อมูลครบถ้วนทั้งชื่อผู้ป่วย ชื่อยาขนาด วิธีการใช้ยา รวมถึงคำเตือนหรือฉลากช่วยที่สำคัญ
- มีการส่งมอบยาโดยเภสัชกร ในช่วงเวลาที่ห้องยาเปิดทำการ
|
- |
2 |
- มีการสื่อสารกับผู้ป่วยโดยใช้หลักการของ Prime Question /Show and Tell ที่ชัดเจน
- มีการค้นหาและมีการบันทึก Prescribing errors, Pre-dispensing errors, Dispensing errors และรวบรวม Administration errors นำเสนอข้อมูลในที่ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาบริการอย่างเป็นระบบ
|
- |
3 |
- มีการทบทวนใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยาก่อนจัดเตรียมยา ตามเกณฑ์ที่โรงพยาบาลกำหนด เช่น High alert drugs ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ (เด็ก ผู้สูงอายุ ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร ตับและไตบกพร่อง)
- กรณีมีการปรึกษาแพทย์ มีการบันทึกคำปรึกษา หรือคำสั่งใหม่ลงในเวชระเบียนหรือบันทึกการส่งต่อระหว่างวิชาชีพหรือสำเนาใบสั่งยา
|
- |
4 |
- มีการทบทวนใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยาตามแนวปฏิบัติของโรงพยาบาลก่อนจัดเตรียมยาให้แก่ผู้ป่วย ครอบคลุมใบสั่งยาร้อยละ 80 ขึ้นไป
- มีการออกแบบสารสนเทศเพื่อให้เภสัชกรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย ในการทบทวนคำสั่งใช้ยา
- มีการค้นหา Dispensing errors ในเชิงรุก อย่างเป็นระบบชัดเจน (ไม่เพียงเฉพาะการตั้งรับ รอการแจ้งหรือรายงาน)
|
- |
5 |
- นำข้อมูลความคลาดเคลื่อนด้านยามาใช้เพื่อการพัฒนางานเพื่อแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างเป็นระบบ *
- ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาไม่พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug) ในระดับ E ขึ้นไป*
- ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาไม่มีอุบัติการณ์ของความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เกิดความวิการหรือต้องได้รับการช่วยชีวิต *
- มีการทบทวนใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยาตามมาตรฐานก่อนจัดเตรียมยาให้แก่ผู้ป่วย ครอบคลุม ใบสั่งยาร้อยละ 100 ขึ้นไป
- ผู้รับบริการร้อยละ 80 ได้รับยาภายใน 20 นาที นับแต่อื่นใบสั่งยาที่ห้องจ่ายยา/ ได้รับคำสั่งใช้ยา
- มีนวัตกรรมในการสนับสนุนกระบวนการบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก เช่น - การลดปัญหาระยะเวลารอคอยและความแออัดในโรงพยาบาล เช่น ระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม, ระบบบริการเติมยาสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อาการคงที่, ระบบบริการจ่ายยาทางไปรษณีย์, โครงการรับยาร้านยาโกส้บ้าน - ด้านส่งเสริมการใช้ยา และความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย เช่น การสั่งจ่ายยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์, ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจสั่งใช้ยา, อลากยาอัจฉริยะ
|
- |
6. การบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน
เป้าหมาย: โรงพยาบาลจัดการบริการจ่ายยาผู้ป่วยในที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้การกระจายยาสำหรับผู้ป่วยในมีระบบที่สามารถป้องกันความเสี่ยงและความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจเกิดขึ้น และผู้ป่วยใช้ และ/หรือ รับยาอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นไปตามแผนการรักษา
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาการบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน |
- |
1 |
- เภสัชกรได้เห็นใบสั่งยาหรือเข้าถึงคำสั่งแพทย์โดยตรง เช่น ผ่านระบบ CPOE
- มีการทบทวนใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยาตามแนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาล ในขั้นตอนการตรวจสอบและจ่ายยา
- ฉลากยามีข้อมูลครบถ้วนทั้งชื่อผู้ป่วย ชื่อยาขนาด วิธีการใช้ยา คำเตือน รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นเช่นชนิดของสารละลาย ความเข้มข้น อัตราเร็วในการบริหารยา ความคงตัวของยา
- มีระบบการจัดการ Emergency drugs เช่น จัดเตรียม CPR BOX set
|
- |
2 |
- มีการค้นหาและบันทึก Prescribing errors, Pre-dispensing errors, Dispensing errors และรวบรวม Administration errors นำเสนอข้อมูลในที่ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาบริการอย่างเป็นระบบ
- มีการกำหนดจำนวน และรายการยาสำรองประจำกอยู่ป่วยแต่ละหอที่เหมาะสมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ
|
- |
3 |
- มีระบบ Medication reconciliation ในกลุ่มผู้ป่วยเป้าหมายที่พัฒนาร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ เพื่อมีข้อมูลเปรียบเทียบคำสั่งใช้ยาหรือส่งต่อคำสั่งใช้ยาค่าสุดในทุกรอยต่อการรักษา (แรกรับ ระหว่างนอนโรงพยาบาล ส่งต่อ และจำหน่ายกลับ)
- ดำเนินการ Medication reconciliation โดยระบบที่พัฒนาขึ้น ภายใน 24 ชั่วโมง หลังรับผู้ป่วยเข้า (admit)
- มีการทบทวนใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยาก่อนจัดเตรียมยา ตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น High alert drugs ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ (เด็ก ผู้สูงอายุ ตั้งครรภ์ ให้นมนตร ตับและไต บทพร่อง)
- ผู้ป่วยหรือญาติทุกคนได้รับการส่งมอบยาและคำแนะนำการใช้ยาก่อนกลับบ้าน โดยเภสัชกร
- มีการสื่อสารกับผู้ป่วยโดยใช้หลักการของ Prime Question
- มีระบบการจัดการยาเดิม (ยาที่ผู้ป่วยนำมาใช้เองในระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล)
- จ่ายยาระบบ Unit dose หรือ One Day dose ในหอผู้ป่วย แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล
- จ่ายยา Stat dose ภายใน 15 นาที (ผู้ป่วยควรได้รับยา Stat dose ภายใน 30 นาทีตั้งแต่แพทย์สั่งจ่ายยา)
|
- |
4 |
- ดำเนินการ Medication reconciliation โดยระบบที่พัฒนาขึ้น ภายใน 24 ชั่วโมง หลังรับผู้ป่วยเข้ารักษาตัว และมีข้อมูลเปรียบเทียบคำสั่งใช้ยาหรือส่งต่อคำสั่งใช้ยาส่าสุดในทุก รอยต่อการรักษา (แรกรับ ระหว่างนอนโรงพยาบาล ส่งต่อ และจำหน่ายกลับ) ร้อยละ 80
- จ่ายยาระบบ Unit dose หรือ One Day dose ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล อย่างน้อยในยาเม็ด และยาอืด
- มีการทบทวนใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยาตามมาตรฐานก่อนจัดเตรียมยาให้แก่ผู้ป่วย ครอบคลุมใบสั่งยาร้อยละ 80 ขึ้นไป
- มีระบบการตรวจสอบยาที่เหลือในหอผู้ป่วยที่ชัดเจนเพื่อการเรียกยาคืน
- จ่ายยาทั่วไปที่เป็นคำสั่งใหม่ ภายใน 120 นาที หลังจากที่ได้รับใบเบิกหรือคำสั่งใช้ยา
- มีการนิเทศกำกับ และติดตามระบบการจัดการด้านยานนทอยู่ป่วยอย่างน้อยทุก 3 เดือน เช่น ยาสำรอง ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ ยาแช่เย็น การแบ่งใช้ยา การเตรียม การบริหารยา การติดตามยาความเสี่ยงสูง การรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา
|
- |
5 |
- มีการทบทวนใบสั่งยาหรือคำสั่งใช้ยาตามมาตรฐานก่อนจัดเตรียมยาให้แก่ผู้ป่วย ครอบคลุมใบสั่งยาร้อยละ 100 ชั้นไป*
- ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาไม่พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug) ในระดับ E ชั้นไป*
- ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาไม่มีอุบัติการณ์ของความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เกิดความพิการหรือต้องได้รับการช่วยชีวิต *
- ดำเนินการ Medication reconciliation โดยระบบที่พัฒนาขึ้น ภายใน 24 ชั่วโมง หลังรับผู้ป่วยเข้ารักษาดัว และมีข้อมูลเปรียบเทียบคำสั่งใช้ยาหรือส่งต่อคำสั่งใช้ยาส่าสุดในทุก รอยต่อการรักษา (แรกรับ ระหว่างนอนโรงพยาบาล ส่งต่อ และจำหน่ายกลับ) ร้อยละ 100
- มีนวัตกรรมในการสนับสนุนกระบวนการบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน
|
- |
7. งานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยนอก เพื่อการติดตาม ค้นหา พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถใช้ยาตามสั่ง ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย บรรลุแผนการรักษา
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก |
- |
1 |
- มีการกำหนดเกณฑ์ในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ในกลุ่มโรค กลุ่มยา ตามเกณฑ์ที่กำหนด (สอดคล้องตาม Service plan หลัก หรือปัญหาในพื้นที่)
|
- |
2 |
- มีการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ในกลุ่มโรค กลุ่มยา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- มีการจัดทำ รวบรวมข้อมูลการใช้ยาและบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อติดตามปัญหา การแก้ไข ป้องกันและการให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
- มีการจัดทำคู่มือ/แนวทางการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ในกลุ่มโรค กลุ่มยา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
|
- |
3 |
- มีการจัดทำ รวบรวมข้อมูลการใช้ยาและบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อติดตามปัญหา การแก้ไข ป้องกันเพื่อติดตามการใช้ยาและการให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ที่สามารถเข้าถึงได้โดยสหสาขาวิชาชีพ
- มีการปรับปรุงคู่มือ/แนวทางการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ในกลุ่มโรค กลุ่มยาที่เป็นปัจจุบัน
- มีกระบวนการดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ โดยการกำหนดเป้าหมาย และแผนการรักษาร่วมกัน
|
- |
4 |
- มีการประเมินความรู้ ความร่วมมือในการใช้ยาและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกอย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบหรือกิจกรรมการบริบาลทางเภสัชกรรม
- มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเภสัชกรในกรณีศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาทางด้านยา เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป ทุก 3 เดือน
- มีการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกครอบคลุมกลุ่มโรค กลุ่มยา หรือ Service plan หรือปัญหาในพื้นที่ ร้อยละ 80
|
- |
5 |
- ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ครั้งหรือจนกว่าผู้ป่วยจะสามารถควบคุมค่าเป้าหมายการรักษาให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดได้ (มีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ สรุปผลการดำเนินงานอย่างน้อยย้อนหลัง 6 เดือน) *
- มีระบบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาล และ/หรือ เครือข่าย*
- ผู้ป่วยนอกกลุ่มโรคเรื้อรังคลินิกเฉพาะโรค สามารถควบคุมอาการของโรคได้บรรลุเป้าหมายทางคลินิกตามเกณฑ์มาตรฐาน (สอดคล้องตาม Service plan หลัก)*
- ผู้ป่วยนอกกลุ่มโรคเรื้อรังเป้าหมาย กลับเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากความไม่สามารถใช้ยาตามสั่งหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ไม่เกินร้อยละ 10
- มีระบบการประเมิน หรือประกันคุณภาพของเภสัชกรผู้ให้ข้อมูลที่ให้บริการที่เป็นระบบชัดเจน
- มีนวัตกรรมในการสนับสนุนกระบวนการบริการ ในด้านส่งเสริมการใช้ยา และความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย
|
- |
8. งานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยใน เพื่อติดตาม ค้นหา พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถใช้ยาตามสั่ง ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและเหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย บรรลุแผนการรักษา
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน |
- |
1 |
- มีการกำหนดเกณฑ์ในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน ในกลุ่มโรค กลุ่มยา ที่เชื่อมโยงกับงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก หรือหอผู้ป่วย หรือสอดคล้องตาม Service plan หลัก หรือปัญหาในพื้นที่ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
|
- |
2 |
- มีการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในตามเกณฑ์ที่กำหนด
- มีการจัดทำ รวบรวมข้อมูลการใช้ยาและบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อติดตามปัญหา การแก้ไข ป้องกันและการให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
- มีการทำคำปรึกษาแนะนำการใช้ยาก่อนจำหน่าย (Discharge Counseling) ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- มีการจัดทำคู่มือ/แนวทางการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน ในกลุ่มโรค กลุ่มยา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
|
- |
3 |
- เภสัชกรติดตาม ค้นหา พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข และป้องกันปัญหา ตามเป้าหมายและแผนการรักษาร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (Independent pharmacist round)
- เภสัชกรบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรมใน Pharmacist Note / Progress Note หรือใน Chart ผู้ป่วยเพื่อการสื่อสารร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
- มีการปรับปรุงคู่มือ/แนวทางการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน ในกลุ่มโรค กลุ่มยาที่เป็นปัจจุบัน
|
- |
4 |
- มีการประเมินความรู้ ความร่วมมือในการใช้ยาและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในอย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบหรือกิจกรรมการบริบาลทางเภสัชกรรม
- มีระบบการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเภสัชกรในกรณีศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาทางด้านยาเพื่อการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทุก 3 เดือน
|
- |
5 |
- มีการรวบรวมและนำเสนอข้อมูลลัพธ์ของการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่บ่งชี้ได้ว่าช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยด้านยาที่ชัดเจน *
- ไม่พบปัญหาการกลับเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาที่สามารถป้องกันได้ในปีที่ผ่านมา *
- มีเภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในประจำหอผู้ป่วยตามที่นโยบายโรงพยาบาล*
- มีระบบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน และ/หรือ เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
- มีระบบการประเมินหรือประกันคุณภาพของเภสัชกรผู้ให้ข้อมูลที่ให้บริการที่เป็นระบบชัดเจน
- มีการติดตามระดับยาในเลือดแก่ผู้ป่วยตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ยาที่มี Therapeutic Index แคบ ยากดภูมิคุ้มกัน ยาที่มีผลต่อผู้ป่วยโรคไตหรือมีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง หรือมีระบบเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการใช้ยาในกลุ่มดังกล่าวที่ชัดเจน (มีคู่มือรายการยา มีเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน)
- ผู้ป่วยในกลุ่มโรคเป้าหมาย กลับเข้ารับการรักษาด้วในโรงพยาบาลจากความไม่สามารถใช้ยาตามสังหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ไม่เกินร้อยละ 10
- มีนวัตกรรมในการสนับสนุนกระบวนการบริการ ในด้านส่งเสริมการใช้ยา และความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย เช่นพัฒนาสื่อต่างๆ ระบบเทเลฟาร์มาชีในผู้ป่วย COVID
|
- |
มิติด้านการจัดการระบบยา
9. การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีประสิทธิภาพ มีระบบการค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก ระบบการเตือนเมื่อพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่สัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อนำไปสู่การวางระบบจัดการป้องกันการเกิดและลดความรุนแรงของการเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาล |
- |
1 |
- เริ่มดำเนินการวางระบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น มีการกำหนดโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
|
- |
2 |
- มีการมาการที่เป็นสหวิชาชีพรับผิดชอบชัดเจน
- มีนโยบายในเรื่องติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- มีคู่มือการดำเนินงาน แนวทางปฏิบัติในการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ฯ และระบบป้องกันการแพ้ยาซ้ำที่ชัดเจน
- มีระบบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบ spontaneous reporting system (SRS)
- มีตัวชี้วัดระบบงานที่ชัดเจน
|
- |
3 |
- มีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์แบบ spontaneous report อย่างสม่ำเสมอ
- มีการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น Naranjo’s algorithm, WHO’s criteria หรือ Thai’s algorithm
- มีการจัดทำระบบประเมิน preventability ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยมีการเลือกใช้เกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน เช่น Schumock and Thornton preventability scale เป็นต้น
- มีระบบการติดตาม ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่พบ เปรียบเทียบตัวชี้วัด และเชื่อมโยงกับรายงานความเสี่ยงด้านยาอื่นๆ วิเคราะห์หาสาเหตุที่ราก (root cause analysis) เมื่อพบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ป้องกันได้ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
- มีการนำเสนอปัญหาที่พบในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและเป็นรูปธรรม อย่างน้อยทุก 3 เดือน
|
- |
4 |
- มีการพัฒนาระบบการใช้ตัวส่งสัญญาณเพื่อค้นหาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Trigger Tool) ที่ไม่ได้รับรายงานเข้ามาตามระบบปกติ เป็นการค้นหาความเสี่ยงเชิงรุกและมีการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม
- มีการพัฒนาระบบการค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สามารถทำนายได้ด้วยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา โดยเชื่อมโยงกับปัญหาจากการใช้ยา (drug related problem: DRP) ที่พบในงานบริบาลผู้ป่วยทางเภสัชกรรม เช่น การเกิดภาวะเลือดออกจากการใช้ยา warfarin เป็นต้น
|
- |
5 |
- มีการบูรณาการระบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เข้ากับนโยบายด้านยาอื่น ๆ ในโรงพยาบาลและในชุมชนอย่างสอดคล้อง เช่น นโยบายอำเภอ/จังหวัดเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
- มีนวดกรรมที่เกิดจากการวิเคราะห์ปัญหาที่พบในโรงพยาบาล และนำไปสู่การสร้างเครื่องมือ นโยบาย แนวทางปฏิบัติใหม่เพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- ไม่พบผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ป้องกันได้ เช่น จากการแพ้ยาซึ่งในรอบปีที่ผ่านมา
- มีผลงานวิจัย หรือ R2R เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลอย่างต่อเนื่อง
|
- |
10. การส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีระบบทบทวน ประเมินการใช้ยา (drug utilization evaluation & drug utilization review) ที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาสมเหตุผล เพิ่มคุณภาพการรักษาและประหยัดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ลดปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้ยาไม่สมเหตุผล เช่น การเกิดเชื้อสื่อยา เป็นต้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในโรงพยาบาล |
- |
1 |
- เริ่มดำเนินการวางระบบเพื่อการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในโรงพยาบาล เช่น มีการกำหนดโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง
|
- |
2 |
- มีการมาการที่เป็นสหวิชาชีพรับผิดชอบชัดเจน
- มีนโยบายในเรื่อง การส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- มีการเลือกรายการยาที่ควบคุมกำกับอย่างเหตุผล และมีหลักฐานของปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลอย่างชัดเจน เช่น เป็นยาความเสี่ยงสูง (high risk) เป็นยาค่าใช้จ่ายสูง (high cost) ยาที่มีปริมาณการใช้สูง (high volume) หรือเป็นยาที่การใช้ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ปัญหาเชื้อสื่อยา เช่น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง (broad spectrum antibiotic) เป็นต้น มีการจัดทำแนวทางการสั่งใช้ยาอย่างเหมาะสม คู่มือการดำเนินงาน และแนวทางปฏิบัติในการสั่งใช้ยาที่ชัดเจน
- มีการจัดทำตัวชี้วัดระบบงานที่ชัดเจน
|
- |
3 |
- มีการดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติในทำงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล
- มีระบบการรวมรวมข้อมูล ติดตาม ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูล เบรียบเทียบตัวชี้วัด อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
- มีการนำเสนอปัญหาที่พบในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและเป็นรูปธรรม อย่างน้อยทุก 3 เดือน
|
- |
4 |
- มีการทบทวนแนวทางปฏิบัติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- มีการทบทวนรายการยาเพื่อประเมินการใช้ยาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- มีการดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลอย่างต่อเนื่อง และสามารถบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าว้อยละ 80
|
- |
5 |
- มีการบูรณาการระบบส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล เข้ากับนโยบายด้านยาอื่น ๆ ในโรงพยาบาลและในชุมชนอย่างสอดคล้อง เช่น นโยบายอำเภอ/จังหวัดเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
- มีนวดกรรมที่เกิดจากการวิเคราะห์ปัญหาในโรงพยาบาล และนำไปสู่การสร้างเครื่องมือ นโยบาย แนวทางปฏิบัติใหม่เพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล
- บรรลุผลตามเป้าหมายของตัวชี้วัดการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลที่ได้วางไว้ในทุกตัวชี้วัด
- มีผลงานวิจัย หรือ B2R เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลอย่างต่อเนื่อง
|
- |
11. งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีการบริหารจัดการระบบยา (Drug system management) ในเครือข่ายระบบสุขภาพปฐมภูมิ อันจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมเหตุผล ผู้ป่วยเข้าถึงยาอย่างต่อเนื่องและใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ครอบครัวสามารถพึ่งตนเองและจัดการตนเองด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้อง รวมถึงชุมชนมีความตระหนักรู้และพึ่งตนเองในการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ การพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิ |
- |
1 |
- มีคำสั่งแต่งตั้ง/มอบหมายเภสัชกรรับผิดชอบงานปฐมภูมิ และแผนการออกปฏิบัติงานในหน่วยปฐมภูมิ
- มีแผนการอบรมเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิ
- มีกรอบบัญชีรายการยาหน่วยบริการปฐมภูมิ รวมถึงยาช่วยชีวิต ตามศักยภาพของผู้สั่งใช้ยา
- มีคู่มือ/แนวทางปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ
|
- |
2 |
- 2.1 การส่งมอบยาและการบริการทางเภสัชกรรม
- มีการส่งมอบยาให้ผู้ป่วยอย่างถูกต้องและเหมาะสม
- มีแนวทางการเฝ้าระวังการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา
- มีแนวทางการเฝ้าระวังการใช้ยาใน ผู้ป่วยแท้ยา และผู้ที่ใช้ยาเสี่ยงสูง เช่น Warfarin
- มีแนวทางการใช้ยา และเครื่องมือสนับสนุนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในผู้ใช้ยากลุ่มเป้าหมาย¹
- 2.2 การจัดการระบบยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ
- มีการจัดเก็บยาและเวชภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐาน
- ดูเย็นเก็บยาและวัคซีนเป็นไปตามมาตรฐาน
- ควบคุมและการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ส ารองยาและเวชภัณฑ์เพียงพอ มีระบบควบคุมยาหมดอายุ
- 2.3 การบริบาลเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
- ให้การบริบาลเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยส่งต่อจากโรงพยาบาล
- ให้การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน²
- มีระบบการจัดการยาเดิมของผู้ป่วย (Medical Reconciliation)
- 2.4 การส่งเสริมศักยภาพประชาชน ครอบครัว ชุมชน
- มีกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ครอบครัว
- มีกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในชุมชน
|
- |
3 |
- ผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ RDU ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะโนโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และโรคท้องร่วมเฉียบพลัน ไม่เกินร้อยละ 20
- มีผลการดำเนินงานเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และป้องกันการแพ้ยาซ้ำ
- มีผลลัพธ์การจัดการคลังเวชภัณฑ์ผ่านเกณฑ์รพ.สต.ติดดาว/ตรวจสอบภายใน
- มีรายงานผลสรุปการส ารวจและให้คำแนะน าร้านช าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- มีกิจกรรมที่แสดงให้เห็นว่ามี Home pharm care หรือ Community pharm care
- มีการพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรมเชิงรุกที่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง เช่น ภาวะโฆระบาด โดยการทำ Tele pharmacy, ระบบกระจายยา Home isolation
- มีแนวทางในการดำเนินการเพื่อผู้ป่วย NCD มีผลลัพธ์การรักษาที่ดี และมีความปลอดภัยจากการใช้ยา
|
- |
4 |
- มีผลลัพธ์ในการดำเนินการเพื่อผู้ป่วย NCD มีผลลัพธ์การรักษาที่ดี และมีความปลอดภัยจากการใช้ยา
- ไม่พบปัญหายาหมดอายุ ยาขาดจ่ายให้ผู้ป่วย และยาเหลือใช้งานไม่สามารถนำกลับมาใช้ต่อได้
- มีผลลัพธ์การพัฒนาระบบยาที่ตอบสนองต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลง เช่น การทำ Tele pharmacy, ระบบกระจายยา Home Isolation
- มีโครงการการพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองเรื่องยา เช่น ความรอบรู้เรื่องยา
|
- |
5 |
- มีการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบโครงการ วิจัย นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับอำเภอ
- เภสัชกรที่ปฏิบัติงานปฐมภูมิอย่างน้อยร้อยละ 80 ผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง ที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรอง
- หน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่รับผิดชอบผ่านเกณฑ์รพ.สต.ติดตามในหมวดเภสัชกรรม
- ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ มีศักยภาพในการดูแลตนเองในเรื่องยา และสุขภาพได้ดีขึ้น
|
- |
มิติด้านการบริหารยาและเวชภัณฑ์
12. การผลิตและเตรียมยาในโรงพยาบาล
เป้าหมาย: เพื่อให้มีการผลิตยาที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการใช้ยา
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการพัฒนาการผลิตและเตรียมยาในโรงพยาบาล |
- |
1 |
- มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและคุณสมบัติ ทักษะที่ชัดเจนของบุคลากร
- มีสถานที่เตรียมยาและอุปกรณ์ที่สะอาด เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตยา
|
- |
2 |
- มีการจัดทำ Master formula ของยาเตรียมทุกรายการตามเภสัชตำรับโรงพยาบาล
- มีการทำ Working formula ทุกขั้นตอนการผลิต และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
|
- |
3 |
- มีระบบไฟฟ้า และเตรียมยาเตรียมเฉพาะราย (Extemporaneous preparation)
- มีการจัดทำ SOP ในกระบวนการหลักของการผลิตยาที่ชัดเจนและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยสม่ำเสมอ
- มีระบบควบคุมคุณภาพยาเตรียมเบื้องต้น เช่น pH น้ำ การปนเปื้อนเชื้อ
|
- |
4 |
- เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานได้รับประกาศนียบัตร หรือผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทาง เช่น การเตรียมยาเคมีบำบัด
- มีระบบการติดตามคุณภาพ และ/หรือ ความของตัวของยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
- มีระบบติดตามผลของยาที่ผลิตต่อตัวผู้ป่วย เช่น ADR/pADE (preventable ADE) ที่เกิดจากยา
- มีการนำข้อมูลสะท้อนกลับจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่รห.ผลิต มาพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น
|
- |
5 |
- กระบวนการเตรียมยามีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตยาที่ดีในโรงพยาบาล (Good preparation practice)
- มีการทำวิจัย หรือนำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม มาใช้ในงานผลิตยา
- ไม่มีรายงานอุบัติการณ์ ADE ที่มีสาเหตุจากยาเตรียมที่ผลิต
- ในกรณีที่มีการเตรียมเคมีบำบัด หรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำ มีการติดตามให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด/สารอาหารทางหลอดเลือดดำเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ของการรักษา (ผู้ทำหน้าที่บริบาลทางเภสัชกรรมอาจเป็นเภสัชกรงานเภสัชกรรมการผลิต หรือเภสัชกรงานบริบาลทางเภสัชกรรมหรืองานที่ได้รับมอบหมาย)
|
- |
13. การคัดเลือกยา
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีการกำหนดนโยบายในการจัดการเภสัชตำรับของโรงพยาบาล ให้มีรายการยาเท่าที่จำเป็น คัดเลือกยาที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยา และมีความคุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เพื่อให้มียาที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และปลอดภัยในการดูแลรักษาผู้ป่วย
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการเชิงระบบใด ๆ เพื่อการจัดการบัญชียาโรงพยาบาล |
- |
1 |
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) ที่เป็นสหสาขาวิชาชีพ ทำหน้าที่ดูแล กำกับ การเสนอยาเข้า และตัดยาออกจากบัญชียาโรงพยาบาล
|
- |
2 |
- PTC กำหนดเกณฑ์และแนวทาง ในการเสนอยาเข้า และ ตัดยาออกจากบัญชียาโรงพยาบาล
- PTC ประตูมเพื่อพิจารณา เสนอยาเข้า และ ตัดยาออกจากบัญชียาโรงพยาบาล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
|
- |
3 |
- PTC จัดทำระเบียบบฏิบัติ ในการคัดเลือกยาเข้า และตัดยาออกจากบัญชียาโรงพยาบาล โดยครอบคลุมถึงการจำกัดรายการยาให้มีเท่าที่จำเป็นพิจารณาถึงความปลอดภัยและความคุ้มค่า
- การพิจารณายาเข้าบัญชีโรงพยาบาล มีการจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างยาที่เสนอกับยาที่มีในบัญชีโรงพยาบาลในข้อบ่งชี้เดียวกันโดย เปรียบเทียบในด้านประสิทธิผล ความปลอดภัย ผลข้างเคียง รวมถึงความคุ้มค่า
- มีแนวทางในการขอใช้ยา ที่อยู่นอกบัญชีเมื่อจำเป็น โดยใช้หลักวิชาการ และสถานการณ์ลูกเฉิน
- มีแนวทางการตัดยาออกจากบัญชีโรงพยาบาลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยพิจารณาถึงข้อมูลทางวิชาการในด้านประสิทธิผล ความปลอดภัย และ ความคุ้มค่า
- มีแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาจากการใช้ยา เช่น เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จากยา อันตรปฏิกิริยาของยา ความคลาดเลื่อนทางยาอย่างเป็นระบบ
|
- |
4 |
- มีคณะอนุกรรมการสาขาต่างๆ พิจารณาคัดเลือก หรือตัดยาจากบัญชียา โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อเสนอ PTC
- มีการทบทวนเภสัชตำรับโรงพยาบาล อย่างน้อย ปีละ 1ครั้ง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
- วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาที่เกี่ยวกับใช้ยา (จากระดับที่ 3) เพื่อการบริหารจัดการยาในบัญชีโรงพยาบาลให้มีความปลอดภัย
- เภสัชตำรับโรงพยาบาล มีข้อมูลจำเป็น ครบถ้วน และง่ายต่อการเข้าถึง
|
- |
5 |
- คณะอนุกรรมการสาขาต่างต่าง พิจารณาคัดเลือกยา โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และมีการนำหลักการคิดคะแนน IsafE, EMCI และ Cost effectiveness มาประเมิน
- นำเสนอข้อมูลเภสัชตำรับของโรงพยาบาล เช่น ผ่าน Application เพื่อให้ข้อมูล ข้อบ่งใช้ วิธีใช้ อาการข้างเคียง ข้อควรระวัง การจัดเตรียมยา ความคงตัว และ แนวทางการติดตามที่จำเป็นครบถ้วน ที่ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันทุกปี
- มีการวิเคราะห์ปรับปรุง แนวทางการคัดเลือกยา อย่างสม่ำเสมอ
- มีการประเมิน วางแผน จัดการ เภสัชตำรับโรงพยาบาลให้พร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ โรคอุบัติใหม่
|
- |
14.การจัดซื้อจัดหา
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีการบริหารจัดการระบบการจัดซื้อ และบริหารคลังเวชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ทำถูกต้องตามกฎ ระเบียบที่กำหนด มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ยามีเพียงพอและมีคุณภาพจนกว่าจะส่งมอบให้ผู้ป่วย
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อการพัฒนาการจัดซื้อ และการบริหารคลังเวชภัณฑ์ |
- |
1 |
- การดำเนินการจัดซื้อยา ถูกต้องตามระเบียบพัสดุ
|
- |
2 |
- หน่วยจัดซื้อยา แยกจากงานคลังยาอย่างชัดเจน เพื่อมีการตรวจสอบ (Cross-check)
- มีการจัดทำแผนจัดซื้อ และดำเนินการตามแผนจัดซื้อที่จัดทำขึ้น
|
- |
3 |
- มีแนวทางการคัดเลือกบริษัทในการจัดซื้อ โดยคานึงถึงความปลอดภัยและ ป้องกันความคลาดเคลื่อน เช่น การพิจารณารายการยาที่ เป็น look-alike-sound-alike
- มีแนวทางการคัดเลือกบริษัทในการจัดซื้อ โดยคานึงถึง มาตรฐานโรงงานผลิต และการจัดส่งโดย จัดซื้อจากบริษัทที่ผ่านมาตรฐานโรงงาน GMP/PICS และมาตรฐานการเก็บรักษาและกระจายยา GDP/GSP
- ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการดำเนินการจัดซื้อ ติดตาม และ บริหารให้มีคงคลังที่เหมาะสม และลดปัญหายาชาดคลัง หรือ ยาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด
- การจัดซื้อเป็นไปตามแผน กรณีที่มีการใช้ไม่เป็นไปตามแผน มีการรายงานและขออนุมัติถูกต้องตามระเบียบพัสดุ
- การดำเนินการจัดซื้อ ถูกต้องตามระเบียบพัสดุ มีการ E-bidding ตามระเบียบ และ มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
- มีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของยาที่จัดซื้อ โดยเฉพาะยาที่สำคัญ เช่น ยาความเสี่ยงสูง ยาช่วยชีวิต
- มีบัญชียาช่วยชีวิต (life saving) และยาสำคัญที่ห้ามขาดคลัง ยกเว้นกรณีที่ยาขาดจากผู้ผลิต
|
- |
4 |
- มีการทำทะเบียนผู้ขาย (Approved vender list) โดยกำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจน และมีการจัดลำดับโดยประเมินจาก มาตรฐานต่างต่างที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพยา เช่น มาตรฐานห้องแลป ISO 17025, มาตรฐาน ISO 9001, มาตรฐานเกณฑ์จริยธรรม ฯ
- มีการจัดทำคุณลักษณะเฉพาะของยาที่จัดซื้อ โดยอ้างอิงตามตำราอ้างอิงที่ประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุข หรือ ICH guideline
- ในกรณีที่เป็นการจัดซื้อครั้งแรก มีการตรวจสอบข้อมูลขึ้นทะเบียน ข้อมูลคุณภาพของยา วิธีใช้ และการเก็บรักษาอย่างครบถ้วน เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพ
|
- |
5 |
- มีการรวบรวมปัญหาจากผลิตภัณฑ์ยาในด้านคุณภาพ เพื่อการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลในการคัดเลือกบริษัท หรือแจ้งกลับบริษัทเพื่อจัดการแก้ไข รวมถึงมีกระบวนการจัดทำ black list กรณีพบข้อผิดพลาดร้ายแรง
- มีการทบทวนและปรับปรุงทะเบียนผู้ขาย และคุณลักษณะเฉพาะของยา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
|
- |
15. การบริหารคลังเวชภัณฑ์
เป้าหมาย: โรงพยาบาลมีการบริหารจัดการระบบการจัดซื้อ และบริหารคลังเวชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ทำถูกต้องตามกฎ ระเบียบที่กำหนด มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ยามีเพียงพอและมีคุณภาพจนกว่าจะส่งมอบให้ผู้ป่วย
ระดับ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
0 |
ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในการจัดการบริหารคลังเวชภัณฑ์ |
- |
1 |
- คลังยามีชั้นจัดเก็บ ชั้นเรียงยา พร้อมทั้งจัดทำป้ายบ่งชี้ และมีกุญแจ ที่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจน
- มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น ให้เหมาะสมกับการจัดเก็บยาแต่ละประเภท
|
- |
2 |
- มีพื้นที่จัดเก็บยาแยกจากเวชภัณฑ์ และแบ่งประเภทการจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่ มีการระบุตำแหน่งที่เก็บอย่างชัดเจน จัดเรียงเป็นระเบียบ กำหนดผู้รับผิดชอบกุญแจและผู้ที่สามารถเข้าไปใน พื้นที่คลังยา
- มีการติดตามบันทึกอุณหภูมิ และความชื้นของคลังยา ทั้งยาที่จัดเก็บในอุณหภูมิปกติ และ ยาที่อุณหภูมิ 2-8 องศา
- มีเครื่องมือในการบริหารจัดการคลัง ที่สามารถกำหนดปริมาณสำรอง ค่าต่ำสุด สูงสุด รวมถึงการตรวจสอบยอดคงเหลือได้อย่างถูกต้อง
|
- |
3 |
- มีกุญแจล็อคสองชั้น และกล้องวงจรปิด กำหนดผู้รับผิดชอบกุญแจเป็นลายลักษณ์อักษร และมีมาตรการในการป้องกันผู้ไม่ได้รับอนุญาติเข้ามาในคลัง
- มีเครื่องดักจับควัน และเครื่องดับเพลิง รวมทั้งแผนปฏิบัติการกรณีเกิดอัคคีภัย
- การจัดเก็บยา มีการแยกหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ จัดเรียงยาแบบ First expire-First out ดังนี้ ยาความเสี่ยงสูง ยาlook-alike-sound-alike มีการจัดเก็บแยกจากกัน เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการเบิกจ่าย ยาเคมีบำบัด มีการจัดเก็บแยกจากยาทั่วไป และมี วิธีปฏิบัติเมื่อตกแตก ยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ ยารอคืนบริษัท ยาเรียกคืน มีพื้นที่เฉพาะ แยกจากยาทั่วไป
- ยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ ยาที่มีโอกาสใช้ในทางที่ผิด มีพื้นที่เก็บแยก ป้องกันการเข้าถึง มีผู้รับผิดชอบชัดเจน มีวิธีปฏิบัติในการเบิก จ่าย และมีบันทึกการทำลาย ถูกต้องตามข้อกฎหมาย และมีการตรวจสอบสม่ำเสมอ
- สภาพแวดล้องการจัดเก็บยา ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดบนฉลากยา มีการตรวจสอบ (อุณหภูมิ
แสงสว่าง ความชื้น) อย่างเป็นระบบ มีการบันทึกอุณหภูมิและความชื้น วันละสองรอบ โดยอุปกรณ์
ที่ใช้วัดควรมีการสอบเทียบ ปีละ1ครั้ง และมีแนวทางปฏิบัติกรณีที่อุณหภูมิและความชื้นไม่อยู่
ในช่วงที่กำหนด
- การบริหารจัดการคลัง ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการบริหารจัดการ ที่ทำงานเป็นปัจจุบัน เพื่อ
กำหนดค่าต่ำสุด สูงสุด ยอดคงเหลือ และมีรายงานวันหมดอายุยา
- การรับยา มีการตรวจสอบการจัดส่งจากบริษัทขนส่ง โดยเฉพาะยาที่ต้องควบคุมอุณหภูมิในระบบ
ห่วงโซ่ความเย็น การตรวจรับยามีการตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งรายการ จำนวน บรรจุภัณฑ์ และ
ใบวิเคราะห์ยาก่อนการรับเข้าคลัง และเป็นไปตามระเบียบพัสดุ
- การเบิกจ่ายยา เป็นไปตามระเบียบพัสดุ มีการตรวจสอบ ข้ามหน่วยงานระหว่างหน่วยเบิก และ
คลังยา เอกสารการรับ-จ่ายเป็นปัจจุบัน
- การกระจายยา ไปยังหน่วยเบิกมีการควบคุมอุณหภูมิ ให้เหมาะสมตามฉลากยา ยาที่ต้องเก็บที่ 2-8
องศา ต้องมีกล่องโฟมในการควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการควบคุมคุณภาพ และ
ป้องกันการสูญหายระหว่างนำส่ง
- การเรียกคืนยา สามารถเรียกคืนยากลับจากหน่วยบริการจ่ายยา เมื่อได้รับแจ้งข้อมูล และมีวิธี
ปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในการเรียกเก็บ และการจัดการยาเรียกคืน
- มีการสุ่มตรวจสอบยอดคงเหลือ และ ยาคงเหลือจริง อย่างน้อยเดือนละ 1ครั้ง กรณีพบความ
คลาดเคลื่อน มีการหาสาเหตุ และทบทวนระบบ
- มีการรายงานการบริหารเวชภัณฑ์รายไตรมาส รายงานแผนจัดซื้อและรายงานที่เกี่ยวข้องตามที่
กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ครบถ้วนและทันเวลา
- มูลค่ายาคงคลัง ไม่เกิน 2 เดือน และไม่มียาหมดอายุ เสื่อมสภาพที่ไม่ใช่ Life saving หรือ vital drugในคลัง
ยา
|
- |
4 |
- คลังมีระบบรักษาความปลอดภัยโดยใช้ระบบ scanหน้า หรือนิ้วมือ และสัญญาณกันขโมย
- ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการบริหารจัดการคลังเพื่อกำหนดค่าต่ำสุด สูงสุด ยอดคงเหลือ และรายงาน
วันหมดอายุยา ที่ทำงานเป็นปัจจุบัน และสามารถติดตาม lot no. ยาที่จ่ายไปในหน่วยบริการ มี
ระบบรายงานที่จำเป็นอย่างครบถ้วน
- มีระบบแจ้งเตือน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ หรือ ขนาด บรรจุ ความแรง หรือ ความเข้มข้นของยา
- การเรียกคืนยา สามารถเรียกคืนยากลับจากหน่วยบริการจ่ายยา ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อได้รับแจ้ง
ข้อมูล และมีวิธีปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในการเรียกเก็บ และการจัดการยาเรียกคืน
|
- |
5 |
- โปรแกรมบริหารจัดการคลังสามารถเชื่อมต่อกับคลังย่อยของหน่วยบริการจ่ายยา เพื่อบริหารจัดการ
ยาคลังยาย่อยโดย ระบบ VMI ที่สามารถตรวจสอบยอดคงคลังยาทั้งโรงพยาบาลแบบ real time
- กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงบริษัทยา มีแนวทางการแจ้งเตือนและเฝ้าระวังปัญหาคุณภาพยารวมถึง
การสุ่มส่งตรวจ วิเคราะห์ ในบางกรณีที่จำเป็น
- การเรียกคืนยา คลังยาสามารถเรียกคืนยาจากผู้ป่วยได้ ในกรณีที่มีความเสี่ยงร้ายแรง และมีวิธี
ปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในการเรียกเก็บ และการจัดการยาเรียกคืน
|
- |