มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านบริการเภสัชกรรมที่ปลอดภัย ทันสมัย และยั่งยืน
กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลกาฬสินธุ์มีหน้าที่ให้บริการด้านเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และใกล้เคียง
มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านบริการเภสัชกรรมที่ปลอดภัย ทันสมัย และยั่งยืน พร้อมสนับสนุนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและครอบคลุม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
มุ่งมั่นพัฒนางานเภสัชกรรมของโรงพยาบาล โดยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา สนับสนุนการบริหารจัดการด้านยาอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างระบบบริการเภสัชกรรมที่เป็นเลิศ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการและองค์กร
ให้บริการเภสัชกรรมด้วยมาตรฐาน มีจริยธรรมวิชาชีพ ทำงานเป็นทีม พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลและความรับผิดชอบต่อสังคม
แผนงาน | กลยุทธ์ | โครงการ | รายละเอียด | ผู้รับผิดชอบ |
---|---|---|---|---|
1. แผนงานพัฒนาบริการเภสัชกรรม |
- ปรับปรุงการให้บริการเภสัชกรรม - ขยายบริการ Home Pharmacy และบริการส่งยาถึงบ้าน |
1.1 โครงการพัฒนาระบบติดตามผู้ป่วยหลังได้รับการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน | พัฒนาระบบติดตามผู้ป่วยหลังได้รับการบริบาลเภสัชกรรมเพื่อลดการกลับเข้ารักษาซ้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย | งานบริบาลเภสัชกรรม |
1.2 การพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ | พัฒนาระบบ Telepharmacy เพื่อให้บริการเภสัชกรรมทางไกลแก่ผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล | เภสัชกรงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกและเภสัชกรงานบริบาลผู้ป่วยนอก | ||
1.3 การลดระยะเวลารอรับยาห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก | ปรับปรุงกระบวนการจ่ายยาเพื่อลดเวลารอคอยของผู้ป่วย | เภสัชกรงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกและเภสัชกรงานบริบาลผู้ป่วยนอก | ||
1.4 สื่อให้ความรู้เรื่องการใช้ยาเทคนิคพิเศษ | สร้างสื่อความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจการใช้ยาเทคนิคพิเศษอย่างถูกต้อง | งานบริบาลเภสัชกรรม | ||
1.5 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน SOP ในกลุ่มผู้ป่วย HIV, TB, warfarin, HFrEF, DM, asthma, epilepsy | จัดทำคู่มือปฏิบัติงานเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังเป็นไปตามมาตรฐาน | งานบริบาลเภสัชกรรม | ||
1.6 พัฒนาแนวทางป้องกันผู้ป่วยกลับเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำด้วย MALA | พัฒนาแนวทางป้องกันการกลับเข้ารักษาซ้ำของผู้ป่วยที่มีภาวะ MALA | วิจัยและพัฒนา | ||
2. แผนงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล |
- ขับเคลื่อนโครงการ Rational Drug Use (RDU) - จัดทำระบบติดตามผลการใช้ยาในผู้ป่วย |
2.1 โครงการทบทวนนโยบายการประสานรายการยาสู่ผู้ปฏิบัติงาน | ทบทวนนโยบายการประสานรายการยาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วย | ภญ.ชลิตา ศิริรักษ์ |
2.2 พัฒนาสื่อความรู้เพื่อเพิ่ม INR target ในผู้ป่วย warfarin | สร้างสื่อความรู้เพื่อช่วยผู้ป่วย warfarin ในการควบคุมระดับ INR ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม | งานบริบาลเภสัชกรรม | ||
2.3 ลดอัตราผู้ป่วยนอกกลุ่มโรคเรื้อรังเป้าหมายกลับเข้านอนโรงพยาบาลด้วยปัญหาจากยาหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ | พัฒนาแนวทางลดการกลับเข้ารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล | งานบริบาลเภสัชกรรม | ||
3. แผนงานพัฒนาบุคลากร |
- อบรมและฟื้นฟูความรู้ด้านเภสัชกรรมดิจิทัล - สนับสนุนบุคลากรให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น |
3.1 อบรมเพิ่มสมรรถนะเภสัชกรเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นซ้ำได้ | จัดอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ให้เภสัชกรในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา | ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน/วิจัยและพัฒนา |
3.2 พัฒนาระบบการประเมินเภสัชกรผู้ให้ข้อมูลด้านยาแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล | สร้างระบบประเมินประสิทธิภาพของเภสัชกรในการให้ข้อมูลยาแก่ผู้ป่วย | งานบริบาลเภสัชกรรม | ||
4. แผนงานพัฒนาระบบดิจิทัลและนวัตกรรม |
- จัดตั้งระบบ Cybersecurity - ใช้เทคโนโลยี Kiosk Services สำหรับบริการจ่ายยา |
4.1 พัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยจากงานบริบาลสู่งานบริการและเครือข่าย | พัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ | งานบริบาลเภสัชกรรม |
4.2 พัฒนาระบบการประเมินเภสัชกรผู้ให้ข้อมูลด้านยาแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล | สร้างระบบประเมินประสิทธิภาพของเภสัชกรในการให้ข้อมูลยาแก่ผู้ป่วย | งานบริบาลเภสัชกรรม | ||
5. แผนงานพัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพ |
- จัดการทรัพยากรยาอย่างมีประสิทธิภาพ - ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ |
5.1 โครงการพัฒนาเครื่องมือและช่องทางเพื่อสอบถามความพึงพอใจและปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากงานผลิต | พัฒนาเครื่องมือเพื่อสำรวจความพึงพอใจและปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ | ภญ.พึงพิศ |
6. แผนงานสร้างความร่วมมือในเครือข่าย |
- เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน - การพัฒนาเครือข่ายเภสัชกรรมระดับจังหวัด |
6.1 พัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลทางยาระหว่างในโรงพยาบาลและรพสต.ในเขตอำเภอเมืองผ่านทาง Line OA | พัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลยาเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ | งานบริบาลเภสัชกรรม |
6.2 พัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยาจากการวิเคราะห์ทบทวนปัญหาจากการใช้ยาหอผู้ป่วยอายุรกรรม 10 หอผู้ป่วย | วิเคราะห์และทบทวนปัญหาจากการใช้ยาเพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยา | งานบริบาลเภสัชกรรม |